Key takeaways:
- รังสีอัลตราไวโอเลต มีประโยชน์ในเรื่องการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตวิตามินดี และใช้รักษาโรคบางโรคได้ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคด่างขาว แต่ถ้าได้รับติดต่อกันนานเกินไป รังสีอัลตราไวโอเลตจะกลายเป็นอันตรายต่อร่างกายทันที
- อันตรายของรังสีอัลตราไวโอเลต สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อทั้งผิวหนังและดวงตา โดยโทษของรังสีอัลตราไวโอเลต จะทำให้กระจกและเยื่อบุตาอักเสบ เกิดผิวไหม้จากแดด ริ้วรอย การแพ้แดด และที่ร้ายแรงที่สุดคือทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้
ในช่วงที่อากาศร้อนจัดแบบนี้ นอกจากอุณหภูมิของอากาศที่สูงจนทำให้เรารู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวัง คือ อันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลตที่สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งหากไม่รู้จักวิธีป้องกันที่ถูกต้องและเหมาะสม ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรังตามมาได้
ภาพ: รังสีอัลตราไวโอเลตอันตรายต่อผิว
รังสีอัลตราไวโอเลต คืออะไร?
รังสีอัลตราไวโอเลต หรือที่เรียกอีกอย่างว่า รังสียูวี (UV) เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า มีลักษะเป็นคลื่นยาวประมาณ 40-400 นาโนเมตร มีต้นกำเนิดมาจากแสงอาทิตย์ หรือเกิดจากอุปกรณ์ที่สามารถปล่อยรังสีได้ เช่น หลอดแบล็คไลท์หรือหลอดไฟชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
รังสีอัลตราไวโอเลต แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
- รังสียูวีเอ (UVA) มีความยาวคลื่น 320-400 นาโนเมตร เป็นประเภทรังสียูวีที่ไม่ถูกดูดซับจากชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก ทำให้มนุษย์ได้รับรังสีชนิดนี้มากกว่าชนิดอื่น ๆ
- รังสียูวีบี (UVB) มีความยาวคลื่น 290-320 นาโนเมตร โดยชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกจะไม่สามารถดูดซับรังสีชนิดนี้ได้ทั้งหมด ทำให้มีรังสีบางส่วนตกลงมายังพื้นผิวโลก
- รังสียูวีซี (UVC) มีความยาวคลื่น 220-290 นาโนเมตร โดยชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกจะสามารถดูดซับรังสีชนิดนี้ไว้ได้ทั้งหมด ทำให้ไม่มีรังสียูวีซีตกลงมายังพื้นผิวโลก
ภาพ: รังสีอัลตราไวโอเลตทำร้ายผิว
รังสีอัลตราไวโอเลตอันตรายต่อร่างกายยังไงบ้าง?
1. ผลกระทบต่อดวงตา
อันตรายของรังสีอัลตราไวโอเลตที่มีต่อดวงตา คือ ทำให้กระจกและเยื่อบุตาอักเสบ ซึ่งเกิดจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตปริมาณสูงในเวลาไม่กี่ชั่วโมง แต่ส่งผลให้เกิดอาการตาแดงระคายเคือง และเมื่อกระจกตาอักเสบรุนแรงขึ้น จะทำให้เซลล์ผิวหนังชั้นนอกของดวงตาถูกทำลาย ส่งผลให้มองไม่เห็นชั่วคราว แต่ในเวลาต่อมาร่างกายจะสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ เพื่อช่วยให้กลับมามองเห็นได้ภายใน 2-3 วัน แต่การผลัดเซลล์ที่ตายแล้ว จะทำให้เกิดความเจ็บปวดมาก และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น การระคายเคืองตาเรื้อรังหรือน้ำตาไหล เป็นต้น นอกจากนี้อันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลต ยังทำให้เกิดต้อกระจกและต้อเนื้อได้อีกด้วย
2. ผลกระทบต่อผิวหนัง
โทษของรังสีอัลตราไวโอเลตที่มีต่อผิวหนังเกิดขึ้นได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ผลกระทบเล็ก ๆ อย่างปัญหา ผิวคล้ำแดด ที่เกิดขึ้นจากการตากแดดเป็นเวลานาน ทำให้รังสียูวีเอเข้าไปกระตุ้นการสร้างเม็ดสีของเซลล์ผิวชั้นนอก จนผิวคล้ำขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนรังสียูวีบีจะส่งผลให้ผิวชั้นหนังกำพร้าหนาขึ้น นอกจากนี้หากได้รับรังสียูวีบีมากเกินไป อาจส่งผลให้ผิวชั้นนอกถูกทำลาย จนเกิดเป็นปัญหาผิวไหม้แดดได้ โดยผิวหนังจะลอกเป็นแผลพุพอง ซึ่งก่อให้เกิดความเจ็บปวดและเซลล์ผิวหนังที่สร้างขึ้นใหม่จะบอบบางและไวต่อรังสียูวีกว่าเดิม อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งผิวหนังอีกด้วย
นอกจากนี้ยังต้องระวังเรื่อง อาการแพ้แดด ที่อาจเกิดขึ้นกับคนที่ผิวหนังไวต่อแสงยูวี เพราะแค่โดนรังสียูวีเพียงเล็กน้อยผิวหนังก็ไหม้แล้ว โดยข้อมูลจากงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า รังสียูวีเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระซึ่งเป็นอันตรายต่อเซลล์ในร่างกาย อีกทั้งรังสียูวียังสามารถเข้าไปทำลาย DNA ของเซลล์ผิวหนังโดยตรง ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังนั่นเอง
3. ผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน
นอกจากรังสีอัลตราไวโอเลตจะอันตรายต่อดวงตาและผิวหนังแล้ว ก็ยังเป็นอันตรายต่อ DNA และส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง เนื่องจากมีงานวิจัยที่อ้างว่ารังสียูวีบีส่งผลให้ร่างกายควบคุมไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเริมได้น้อยลง ทำให้คนที่เคยป่วยเป็นเริมสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ และยังมีข้อมูลที่ระบุว่าการได้รับรังสียูวีในปริมาณสูงสามารถส่งผลให้วัคซีนทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพอีกด้วย
วิธีป้องกันอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลต
- ทาครีมกันแดด : สามารถช่วยปกป้องผิวจากอันตรายของรังสีอัลตราไวโอเลตได้ดี โดยครีมกันแดดที่จะปกป้องรังสียูวีได้ ต้องมี SPF30 ขึ้นไป โดยทาเป็นประจำทุก ๆ 2 ชั่วโมง และควรเลือกครีมกันแดดที่มีคุณสมบัติกันน้ำได้ด้วย
- เลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง : โดยเฉพาะในช่วงเวลา 9.00-14.00 น. เพราะเป็นช่วงที่มีปริมาณรังสียูวีสูง หากจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ควรทาครีมกันแดด หรือสวมเสื้อแขนยาวกางเกงขายาว ที่มีเนื้อผ้าโปร่งสบาย และต้องไม่ลืมกางร่มที่เคลือบสารกันรังสียูวีด้วย
- สวมหมวกและแว่นกันแดด : หมวกที่กันแดดได้ดีจะต้องมีปีกกว้างประมาณ 2-3 นิ้ว หรืออาจใช้เป็นหมวกแก๊ปที่มีผ้าคลุมช่วงคอเพื่อช่วยป้องกันรังสียูวี และควรใส่แว่นกันแดดที่มีเลนส์ขนาดใหญ่และมีคุณสมบัติป้องกันรังสียูวีเอและยูวีบีได้ 99-100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมักติดป้ายกำกับว่า UV Absorption up to 400 nm หรือ Meets ANSI UV Requirements
ภาพ: ร่มป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต
ร่ม THAICITY UMBRELLA ตัวช่วยที่จะปกป้องคุณให้ปลอดภัยจากอันตรายรังสีอัลตราไวโอเลตในหน้าร้อน
หนึ่งในวิธีป้องกันอันตรายจากรังสีอัลราไวโอเลตที่ดี คือ การใช้ร่ม ทุกครั้งที่ออกนอกบ้านหรือต้องไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง ทุกคนควรใช้ร่มอยู่เสมอโดยเฉพาะในช่วงที่แดดจัด ๆ โดยจะต้องใช้ร่มที่มีคุณภาพ อย่างร่มจาก THAICITY UMBRELLA ที่ผลิตจากโครงสร้างเหล็กคุณภาพดี แข็งแรงทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน อีกทั้งยังสามารถกันแดดได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเลือกใช้เป็นร่มตอนเดียวหรือร่มพับที่เคลือบสารป้องกันรังสียูวีก็ได้ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากรังสีอัลตราไวโอเลตนั่นเอง
ภาพ: ร่มกันยูวี
หน้าร้อนนี้ ‘ร่ม’ ถือเป็นหนึ่งในไอเทมที่ต้องมีติดตัวไว้ทุกครั้งที่ออกจากบ้านเพื่อป้องกันอันตรายจากแสงแดด และถ้าใครอยากได้ร่มที่มีคุณภาพ สามารถกันแดด กันรังสียูวีได้ดี แถมยังดีไซน์สวยทันสมัย ต้องเลือกใช้ร่มจาก THAICITY UMBRELLA เพราะเราเป็นโรงงานผลิตร่มและขายส่งร่มคุณภาพดี ที่ใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิต อีกทั้งยังมีบริการพิเศษจากทีมงานมืออาชีพที่พร้อมให้คำปรึกษาลูกค้าทุกท่าน เพื่อให้ได้ร่มที่ตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด ทั้งร่มพับ ร่มตอนเดียว ร่มกอล์ฟ และร่มสนาม ที่ผลิตด้วยวัสดุคุณภาพสูงและได้มาตรฐาน
ดูรายละเอียดร่ม THAICITY UMBRELLA เพิ่มเติม
“ความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา ฉับไว ใส่ใจบริการ”